You are currently viewing ทุกสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศ

ทุกสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศ

บางครั้งการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศสักเครื่องก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก โดยเฉพาะการหาซื้อครั้งแรก เพราะคุณไม่รู้อะไรเลยนอกจากความต้องการที่จะมีอากาศสะอาดไว้หายใจ

เครื่องฟอกอากาศนั้นมีด้วยกันหลายราคา มีตั้งแต่ตัวท็อปที่มีราคาแพงมาก สามารถทำงานได้หลากหลาย สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ตภายในบ้านได้ ไปจนถึงเครื่องที่ธรรมดา ราคาสมเหตุสมผล ที่มีจุดประสงค์หลักคือฟอกอากาศและดักจับฝุ่น PM2.5 ถึง PM10 ยกตัวอย่างเช่น AirCleaner Personal ของเรานั่นเอง

Read English version here

เครื่องกรองอากาศทุกเครื่องมีจุดประสงค์หลักที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่และซับซ้อนหรือขนาดเล็กและเรียบง่าย การทำงานหลักของทุกเครื่องฟอกอากาศ คือ ต้องนำอากาศผ่านแผ่นกรอง และต้องทำให้เรามั่นใจได้ว่า อากาศที่ออกจากเครื่องฟอกนั้นจะต้องสะอาดกว่าเดิม

ในบทความนี้ เราจะพูดถึงข้อกำหนดทางเทคนิคที่ผู้ผลิตทุกรายควรให้ความสำคัญ และควรที่จะนำเสนอต่อผู้ซื้อ เมื่อนำเสนอหรือโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตน

เราจะอธิบายโดยใช้ศัพท์ที่ไม่ซับซ้อน เพื่อให้คุณได้เข้าใจความหมายของข้อกำหนดทางเทคนิคแต่ละข้อ โดยหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อคุณในการตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศในอนาคต

หากมีข้อกำหนดทางเทคนิคข้อใดข้อหนึ่งตกหล่นไป นั่นหมายความว่า ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย จงใจปกปิดหรือนำเสนอข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนต่อลูกค้านั่นเอง

พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำงาน

พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำงาน หมายถึงขนาดของห้องหนึ่ง ๆ ที่เครื่องฟอกอากาศจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับการระบายอากาศ(อธิบายไว้ในหัวข้อถัดไป) และประสิทธิภาพของแผ่นกรอง(อธิบายไว้ในหัวข้อถัดไป)

ขนาดห้องเป็นสิ่งแรกที่คุณต้องใส่ใจ และเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดที่คุณควรจะคำนึงถึงเมื่อซื้อเครื่องฟอกอากาศ หมายความว่า คุณควรที่จะเลือกเครื่องที่ทำงานเหมาะสมต่อขนาดห้องที่คุณจะนำไปใช้งานนั่นเอง

การที่จะคำนวณหาว่าขนาดห้องเท่าไรจึงจะเหมาะสมนั้น คุณจำเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับการระบายอากาศภายในห้องและประสิทธิภาพของแผ่นกรองเสียก่อน หากตัวแปรเหล่านี้ไม่ได้ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ที่คุณสนใจจะซื้อ อาจเป็นไปได้ว่าทางบริษัทผู้ผลิตได้ผลิตสินค้าจากการสุ่มตัวแปร แทนการใช้ชุดข้อมูลที่เชื่อถือได้

วิธีที่เราใช้คำนวณพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำงานของ AirCleaner Personal

จากผลการทดสอบ และรายงานการตรวจสอบจาก ESRC ได้ตัวแปรดังต่อไปนี้:

ประสิทธิภาพของแผ่นกรอง = 99.86%
การระบายอากาศ = 285ม3/ชม. หรือ 167.64 cfm

เราสามารถคำนวณอัตราการกรองอากาศสะอาด (Clean Air Delivery Rate หรือ CADR) ของ AirCleaner Personal ได้โดย:

CADR = การระบายอากาศ(cfm)*ประสิทธิภาพของแผ่นกรอง
CADR = 173.63cfm*0.9986 = 167.4

เมื่ออ้างอิงจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ภายในบ้าน (Association of Home Appliance Manufacturers) สำหรับห้องที่มีความสูงถึงเพดาน 8 ฟุต (2.44เมตร) ค่า CADR จะนำไปคูณด้วย 1.55 เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำงาน:

พื้นที่ที่เหมาะสม = 167.4*1.55 = 259.47 sqft = 24.1m2

หากกลับสูตรคำนวณ จะสามารถแปลงผลลัพธ์ที่ได้เป็นหน่วย sqft และนำไปหารด้วย 1.55 จากนั้นจะได้ค่า CADR ออกมา

Room volume = 25m2 = 269sqft
CADR = 269sqft/1.55 = 173

คุณอาจจะเคยเห็นผู้ผลิตบางรายให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ ยกตัวอย่างเช่น 25ตรม. ไปจนถึง 30ตรม. ซึ่งนั่นก็เพราะว่าปกติเเล้วทุกห้องจะไม่ใช่ห้องที่โล่ง ๆ แต่ทุก ๆ ห้องมักจะมีเตียง ตู้ หรือสิ่งของวางไว้ทั่วห้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ปริมาตรของห้องมีค่าน้อยลงนั่นเอง

อีกอย่างคือการที่คุณรู้ค่า CADR นั้น คุณจะสามารถรู้ระยะเวลาที่เครื่องสามารถฟอกอากาศให้สะอาดได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีห้องพักที่มีขนาด 25ตรม. และมีความสูงจากพื้นถึงเพดานห้องอยู่ที่ 2.5เมตร:

ปริมาตรของห้อง = 25m2*2.5 = 62.5m3 = 2207.16 cft
ระยะเวลาฟอกอากาศหน่วยนาที = ปริมาตรห้อง/CADR = 2207.16/167.4 = 13
นาที

อาจกล่าวได้ว่านี่เป็นเพียงการคำนวณตามทฤษฎีเท่านั้น แต่ได้ความเป็นจริงเเล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอยู่ด้วย เช่นการรั่วไหลของอากาศ ตำแหน่งการวางของเครื่องฟอกอากาศและอายุการใช้งานของแผ่นกรองอากาศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อค่า CADR และพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ (effective working area)

การระบายอากาศ

คุณสมบัติในการระบายอากาศของเครื่องฟอกอากาศ เป็นตัวแปรที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่คุณควรรู้ก่อนจะซื้อเครื่องฟอกอากาศสักเครื่อง

การระบายอากาศของเครื่องฟอกนั้นจะแสดงให้เห็นถึงปริมาณอากาศ ที่เครื่องอากาศสามารถฟอกได้ ในหน่วยปริมาตร (พื้นที่) ต่อ เวลา

ยกตัวอย่างเช่น AirCleaner Personal มีการระบายอากาศอยู่ที่ 285m3/h. ซึ่งตามทฤษฎีเเล้วจะหมายความว่า ในห้องที่มีขนาด 12ม*12ม*2ม = 288ตรม. จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการที่จะให้อากาศทั้งหมดภายในห้องไหลผ่านเครื่องฟอกอากาศ

ทำไมเราจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงข้อนี้? เพราะว่าหากห้องที่เราจะนำเครื่องฟอกอากาศไปวางนั้น มีขนาดใหญ่ ตัวเครื่องฟอกจะต้องมีการระบายอากาศที่สูงตามไปด้วยเช่นกัน

ทาง AirDeveloppa แนะนำว่าทุกครั้งที่คุณกำลังมองหาเครื่องฟอกอากาศเครื่องใหม่ คุณควรที่จะคำนึงถึงตัวแปรด้านการระบายอากาศร่วมด้วย มิฉะนั้นมันก็เปรียบเหมือนกับการที่คุณซื้อรถจักรยานยนต์มาคันหนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าเครื่องยนต์มีขนาดกี่ซีซีนั่นแหละ

เราได้พบกับแผ่นกรองอากาศ HEPA ที่มีขนาดเล็กและเคลื่อนย้ายง่ายและหาซื้อได้ตามท้องตลาด ด้วยขนาดกระทัดรัดและใช้กระแสไฟเพียง 5V ผ่านสาย USB จึงทำให้แผ่นกรองชนิดนี้มีการระบายอากาศต่ำ ทั้งยังสกปรกเร็ว ซึ่งนั่นก็หมายความว่า แผ่นกรองอากาศชนิดนี้ เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่ปิดขนาดเล็กเท่านั้น เช่น ในรถยนต์ส่วนตัว เป็นต้น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ว่าทำไมคุณควรจะหยุดซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ระบุข้อมูลสำคัญไว้อย่างชัดเจน

เราจะคำนวณการระบายอากาศได้อย่างไร

ทาง AirDeveloppa ได้ทำการคำนวณการระบายอากาศของ AirCleaner Personal ตามแนวทางด้านล่าง

เราได้ใช้เครื่องวัดความเร็วลมในการวัด โดยวัดความเร็วจากระดับที่ห่างจากรูระบายอากาศ 3 ระดับ โดยได้เปิดพัดลมไปที่ความเร็วสูงสุด

จากนั้นสมมติว่าจุด A ครอบคลุม 85% ของพื้นที่ทั้งหมดจุด B ครอบคลุม 5% และจุด C ครอบคลุม 10%

ความเร็วลมโดยเฉลี่ย = (9.2m/s*0.85)+(5.1m/s*0.05)+(6.5m/s*0.1) = 8.725m/s

ตอนนี้เราได้ค่าของความเร็วลมเฉลี่ยเเล้ว ตัวแปรต่อไปที่เราจะต้องคำนวณคือพื้นที่หน้าตัดของรูระบายอากาศ:

พื้นที่ = (pi*(0.11m/2)^2)-(0.001m*0.11m*4) = 0.009m2

ขั้นตอนสุดท้าย เราสามารถคำนวณหาการระบายอากาศของแผ่นกรองภายในเวลา 1 ชั่วโมง จะได้ว่า:

การระบายอากาศ = ความเร็วลมเฉลี่ย*พื้นที่*1h = 8.725m/s*0.009m2*3600sec = 282.69m3/h

ประสิทธิภาพการกรอง

ประสิทธิภาพการกรองของแผ่นกรอง เป็นตัวแปรที่จะบอกเราว่า แผ่นกรองได้กรองฝุ่นหรือมลพิษออกไปแล้วมากน้อยเท่าไร

หากคุณยังจำกันได้ จุดประสงค์ของแผ่นกรองอากาศ ก็คือการกรองเอาบางสิ่ง หรือดักจับบางส่วนที่ไม่ต้องการออกไป และให้ในสิ่งที่คุณต้องการแทน ซึ่งก็คืออากาศสะอาดปราศจากฝุ่นละอองหรือมลพิษนั่นเอง

เมื่อคุณคั้นน้ำส้ม บางที่คุณอาจจะชอบแค่น้ำส้มที่ไม่มีเนื้อส้มผสมอยู่เลย คุณจึงเดินไปหยิบเครื่องกรองมากรองเอาเนื้อส้มออก เนื้อส้มส่วนใหญ่ก็จะค้างอยู่ที่ตัวกรอง เหลือเพียงน้ำส้มให้คุณได้ดื่มอย่างอร่อย

เครื่องฟอกอากาศก็ทำหน้าที่คล้ายๆกับตัวกรองเนื้อส้ม แต่ต่างกันตรงที่น้ำส้มเป็นอากาศ และเนื้อส้มเปรียบเสมือนฝุ่น PM10 และ PM2.5 นั่นเอง

การที่จะคำนวณประสิทธิภาพของการกรองนั้น ได้ทำการวัดค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในห้องปิดขนาดเล็กไว้ จากนั้นทำการเปิดเครื่องฟอกอากาศ โดยให้ปรับพัดลมไปที่ความเร็วสูงสุด และรอ 15 นาที หลังจากนั้นจึงทำการวัดค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 อีกครั้ง ดังนั้นเราจะคำนวณได้ว่า:

Filter Efficiency = 100*(initial PM2.5 – final PM2.5)/initial PM2.5

เราจะคำนวณประสิทธิภาพในการกรองของ AirCleaner Personal ได้อย่างไร

เราไม่ได้ทำการคำนวณด้วยตัวเราเอง เนื่องจากว่าต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทางและความเเม่นยำสูง เราจึงได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์วิจัยสิ่งเเวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการคำนวณหาประสิทธิภาพของการกรอง

ในการทำการทดสอบนี้ ดร.หวาน วริญา ได้จัดห้องปิดที่มีความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับหนึ่งไว้ จากนั้นได้วางเครื่องวัด PM2.5 ที่เชื่อมต่อกับสัญญาณอินเตอร์เน็ต พร้อมกับตัวบันทึกข้อมูลไว้ข้างในห้องปิดด้วย เพื่อใช้สำหรับวัดระดับของฝุ่น PM2.5 นั่นเอง

air purifier CMU test

โดยสามารถดาวน์โหลดผลการทดสอบผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของ AirCleaner Personal

จากผลการทดสอบพบว่า AirCleaner Personal มีประสิทธิภาพในการกรองสูงถึง 99.86%

แผ่นกรองที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

HEPA

air purifier HEPA filter

แผ่นกรองฝุ่นละอองประสิทธิภาพสูง (The High Efficiency Particulate Air Filter: HEPA) เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมและคุ้มค่าต่อการใช้งานมากที่สุด

แผ่นกรองประเภทนี้สามารถดักจับฝุ่นละอองที่มีค่าเพียง 0.3 ไมครอนได้ โดยมีประสิทธิภาพการกรองถึง 99.97%

แผ่นกรอง HEPA ประกอบไปด้วยเส้นใยขนาดเล็ก รวมหลายล้านหน่วย ที่ประสานกันไปมาเป็นใยหลายชั้น ซึ่งจะทำหน้าที่ดักจับอนุภาคในรูปแบบต่าง ๆ ได้

  • ผลกระทบ: เมื่ออนุภาคชนกับเส้นใยและถูกดักจับไว้
  • การสกัดกั้น: เมื่ออนุภาคถูกดักจับไว้ระหว่างเส้นใย 2 เส้น
  • การแพร่กระจาย: เมื่ออนุภาคหนึ่งชนเข้ากับเส้นใย ความเร็วของมันจะลดลง และจะถูกดักจับโดยเส้ยใยเส้นถัดไป

แผ่นกรอง HEPA ไม่ได้ถูกนำมาใช้แค่ในเครื่องฟอกอากาศเท่านั้น คุณยังสามารถเห็นหรือพบแผ่นกรองชนิดนี้ได้ในหน้ากากอนามัย N95 และ N99 เเละในเครื่องดูดฝุ่น

สิ่งสำคัญที่คุณจะต้องรู้เกี่ยวกับแผ่นกรอง HEPA คือ เเผ่นกรองชนิดนี้สามารถดักจับอนุภาคที่เป็นของเเข็งได้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า แผ่นกรองชนิดนี้จะไม่สามารถกรองแก๊ส หรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในอากาศได้

ถ่านคาร์บอน

แผ่นกรองอากาศที่ทำมาจากถ่านคาร์บอนนั้นเป็นคู่หูของแผ่นกรอง HEPA เลยก็ว่าได้ ในขณะที่แผ่นกรอง HEPA จะทำงานได้ดีในส่วนของการกรองกนุภาคที่เป็นของเเข็ง แผ่นกรองถ่านคาร์บอนถูกนำมาใช้ในการดูดซับแก๊สต่าง ๆ ไว้ โดยเฉพาะสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซีน และกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นบุหรี่ และกลิ่นของสีที่ยังไม่เเห้ง

แผ่นกรองอากาศคาร์บอนทำงานภายใต้หลักการดูดซับ โดยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย และกลิ่นต่าง ๆ จะถูดดูดซับไว้ที่พื้นผิวนอกของโมเลกุลถ่านคาร์บอนนั้นเอง

ถึงแม้ว่าแผ่นกรองนี้จะสามารถดูดซับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายและกลิ่นต่าง ๆ ได้ แต่แผ่นกรองนี้ก็ไม่สามารถที่จะกรองคาร์บอน มอนนอกไซด์ได้ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะระบุได้ว่า เมื่อใดที่ตัวกรองจะอิ่มตัวและจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อใด

การปล่อยประจุไฟฟ้า

การดักจับฝุ่นแบบใช้ประจุไฟฟ้านั้นได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งนอกจากในเครื่องฟอกอากาศแล้ว เรายังสามารถพบเห็นได้ตามเครื่องปรับอากาศตามท้องตลาดด้วย

เทคโนโลยีนี้จะใช้กระเเสไฟฟ้าแล้วปล่อยประจุไฟฟ้าลบออกมา เพื่อไปจับกับโมเลกุลของฝุ่นในอากาศที่มีประจุบวก จากนั้นฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศจะตกลงสู่พื้น หรือเกาะตามเฟอร์นิเจอร์ในห้องแทน

เทคโนโลยีการใช้ประจุไฟฟ้านั้นค่อนข้างเป็นที่ถกเถียงกัน เนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่ได้พัฒนามาเพื่อหายใจเอาประจุไฟฟ้าเข้าไป อีกทั้งเทคโนโลยีนี้ ไม่ได้กำจัดฝุ่นละอองออกไปเสียทีเดียว เพียงแต่ทำให้ฝุ่นตกลงสู่พื้นผิวเท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปได้ที่ฝุ่นที่มีประจุจะเข้าไปเกาะตัวอยู่ที่ปอดของเราแทน

ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีนี้ยังสามารถทำให้เกิดโอโซนปริมาณหนึ่งในพื้นที่ปิดได้ ซึ่งเมื่อเราหายใจเข้าไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

การใช้พลังงาน

การใช้พลังงานคืออะไร? แล้วทำไมมันถึงสำคัญ?

คุณคงจะทราบเเล้วว่า บิลค่าไฟที่คุณเสียทุก ๆ เดือนนั้น คำนวณมาจากอัตราการใช้ไฟของเดือนก่อนหน้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น รวมถึงเครื่องฟอกอากาศ ล้วนแต่ใช้ไฟฟ้าในการใช้งานทั้งสิ้น ซึ่งหมายความว่า หากเครื่องฟอกอากาศของคุณใช้ไฟมาก ค่าไฟประจำเดือนของคุณก็จะสูงตามไปด้วย

สำหรับ AirCleaner Personal นั้นมีการไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 20 วัตต์ ในขณะที่ยี่ห้ออื่นที่ทำงานคล้ายกันต้องใช้ไฟถึง 40 – 50 วัตต์ ทำอย่างไรเราจึงจะเปรียบเทียบให้เห็นตัวเลขที่ชัดเจนได้?

air purifier power consumption

สมมติว่าไฟ 1 วัตต์ คุณต้องจ่าย 5 บาท และคุณนั้นได้เปิดเครื่องฟอกอากาศทุก ๆ วัน วันละ 3 ชั่วโมง แบบนี้ ตลอด 12 เดือน:

AirCleaner Personal = 3h*20W*365d = 21.9kWh*5THB/kWh = 110THB
คู่แข่ง = 3h*50W*365d = 54.75kWh*5THB/kWh = 274THB

จากการคำนวณข้างต้นจะเห็นได้ว่า คุณจะประหยัดเงินค่าไฟลงไปถึงครึ่งหนึ่งเมื่อใช้ AirCleaner Personal อีกทั้งยังได้อากาศที่มีคุณภาพ เทียบเท่ากับการทำงานของเครื่องฟอกอากาศยี่ห้ออื่น ๆ

และเนื่องจากการใช้ไฟฟ้าที่น้อยกว่าและประสิทธิภาพเทียบเท่าแบรนด์อื่นนี้ ทำให้ AirCleaner Personal เป็นผลิตภัณฑ์สะอาดประหยัดพลังงาน หรือเรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ “สีเขียว” นั่นเอง!

ระดับความดังของเสียง

การวัดความดังเป็นเดซิเบล จะช่วยให้ผู้ใช้ทราบได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้นั้น มีเสียงดังหรือเสียงรบกวนมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับเสียงจากแหล่งอื่น ๆ ที่เราต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งดูได้จากแผนภูมิ dBA นี้

Image result for dba level chart

AirCleaner Personal มีความดังของเสียงเมื่อปรับความเร็วของพัดลมดูดอากาศไปที่ระดับต่ำสุดอยู่ที่ 45dBA และจะมีความดัง 65dBA เมื่อปรับพัดลมดูดอากาศไปที่ระดับความเร็วสูงสุด ซึ่งจากกราฟข้างต้นจะเห็นได้ว่า เสียงของเครื่องฟอกอากาศนั้น มีความดังเทียบเท่ากับเสียงที่เราได้ยินในบ้าน หรือเสียงการสนทนาพูดคุยนั่นเอง

แรงดันไฟฟ้าขาเข้า

เมื่อคุณเสียบปลั้กเครื่องใช้ไฟฟ้า ขึ้นกับว่าคุณจะอยู่ที่ไหนบนโลกนี้ แรงดันไฟฟ้ามักจะอยู่ที่ 110V หรือ 220V และจะมีความถี่อยู่ที่ 60Hz หรือ 50Hz.

เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดเช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หรือ พัดลม จะสามารถทำงานได้ที่แรงดันไฟฟ้า หรือความถี่ อยู่ที่ค่าหนึ่ง ๆ เท่านั้น

AirCleaner Personal มีตัวจ่ายไฟที่สามารถทำงานได้กับแรงดันไฟฟ้าและความที่ทุกระดับตามมาตรฐาน เพราะฉะนั้นคุณจึงสามารถนำเครื่องนี้ ไปใช้ได้ในทุกๆที่ทั่วโลก!

การรับรองด้านไฟฟ้า

การที่จะขายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกกฎหมายนั้น จะต้องผ่านการทดสอบ และผ่านการรับรองเสียก่อน เพื่อรับประกันว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้น ๆ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ มาตรฐารการคุ้มครองสิ่ง เเวดล้อมและปฏิบัติตามหลักแม่เหล็กไฟฟ้า

ในทวีปยุโรป มีมาตรฐานการรับรองหนึ่ง ชื่อว่า CE ในขณะที่ในสหัฐอเมริกามีมาตรฐานการรับรองชื่อ FCC

ตัวจ่ายไฟของ AirCleaner Personal ได้รับการรับรองมาตรฐานจากทั้ง CE และ FCC

คำลงท้าย

หลังจากที่คุณได้อ่านบทความนี้จบเเล้ว เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหมอกควันความสงสัยเกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศของคุณจะหมดไป และหวังว่าเราได้ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ เพื่อนำไปใช้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของคุณในอนาคต

หากคุณอยากสดชื่นไปกับอากาศสะอาด สามารถเยี่ยมชมเครื่องฟอกอากาศและผลิตภัณฑ์ตัวอื่นได้ที่เว็บไซต์ AirDeveloppa หรือทาง Facebook Page

References

Home Air Guides
IQair
Air Purifiers Ratings
Smart Home Guide
Allergy and Air
Explain That Stuff
Molekule
Breath Quality

Leave a Reply